Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ทักษะและเทคนิคการสอน-การสอนแบบอธิบาย


การสอนแบบอธิบาย



                   ผลงานโดย.................................

                              
                                     
                               นาย ทศพร  จันทร์สุวรรณ รหัส 53115710410 สาขา สังคมศึกษา


                               นางสาว วรัญญา  ศรีโมรา รหัส 53115260304  สาขา คอมพิวเตอร์ศึกษา



                        นางสาว สุลัคนา  รอดเจริญพร  รหัส 53115710410  สาขา  สังคมศึกษา

 
   นางสาว นิชาภา  นักกรองดี  รหัส 53115260328  สาขา คอมพิวเตอร์ศึกษา
               

การสอนแบบอธิบาย

      การอธิบายนับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน เพราะผู้สอนจะช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความกระจ่างและเข้าใจเนื้อหาวิชาได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสอดแทรกอธิบายเพิ่มเติมเข้าไปในทุกขั้นตอนของเนื้อหาที่เห็นว่าสำคัญหรือเป็นเนื้อหาที่ยากต่อการเข้าใจ

ความหมายของการอธิบาย

          นักวิชาการได้ให้ความหมายของการอธิบายไว้ดังนี้
          ลัดดาวัลย์ พิชญพจน์ (ม.ป.ป., หน้า 54) อธิบายว่า การอธิบาย หมายถึง การขยายข้อความ เนื้อหาหรือเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเข้าใจมากขึ้น
          เฉลิมศรี ทองแสง (2538, หน้า 65) อธิบายว่า การอธิบาย หมายถึง การพูดเพื่อทำให้ผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ตนพูด เช่น มีลักษณะ ขนาด รูปร่าง ลำดับขั้น วิธีการ ฯลฯ อย่างไร การอธิบายที่ดีจะต้องได้เนื้อหาสาระครบถ้วน และเข้าใจง่าย การอธิบายจึงมักจะมีการยกตัวอย่างประกอบ เพื่อช่วยให้การอธิบายชัดเจนมากขึ้น
          ดังนั้น การอธิบาย คือ การอธิบายขยายข้อความ หรือเรื่องราวต่างๆ โดยมีการยกตัวอย่างประกอบ เพื่อช่วยให้การอธิบายชัดเจนยิ่งขึ้น
          ส่วนทักษะการอธิบาย  หมายถึง ความสามารถในการพูดแสดงรายละเอียดและให้ตัวอย่างให้ผู้เรียนเข้าใจ หายจากข้อสงสัย เกิดความชัดเจนในสิ่งนั้น หรือขยายความในลักษณะที่ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งอาจกระทำได้โดยการบอก การตีความ การสาธิต การยกตัวอย่าง ฯลฯ บางครั้งเพื่อให้การอธิบายเป็นที่เข้าใจได้ง่าย อาจจะใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบการอธิบาย ก็จะช่วยทำให้ผู้ฟังสนใจและเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น  ทักษะการอธิบายมีความสำคัญและจำเป็นต่อกระบวนการเรียนการสอน ทุกระดับ  โดยเฉพาะปัจจุบันพบว่า วิธีสอนที่ครูส่วนมากนิยมคือการสอนแบบบรรยาย  และการอธิบาย ซึ่งทักษะการอธิบายจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นสำหรับการสอนสองวิธีนี้ การมีทักษะในการอธิบายที่ดีมีความหมายและสำคัญสำหรับครูมาก ทักษะการอธิบายควรจะได้รับการฝึกหัดและติดตามผลอยู่เสมอว่าช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องราวที่อธิบายมากน้อยเพียงใด แล้วหาทางแก้ไขปรับปรุงวิธีการอธิบายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น



  
รูปแบบของการยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย



                 ลัดดาวัลย์ พิชญพจน์ (ม.ป.ป., หน้า 54) ได้กำหนดการยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย สามารถกระทำได้ใน 2 แบบ ดังต่อไปนี้
                 1.  แบบนิรนัย (Deductive System) หมายถึง การอธิบายโดยการให้รู้หลัก กฎ สูตรหรือนิยามก่อน แล้วจึงยกตัวอย่างประกอบ หรือกล่าวได้ว่าเป็นการสอนจากกฎไปหาตัวอย่าง เช่น การสอนวิชาหลักภาษาไทยเกี่ยวกับเรื่องชนิดของคำ โดยผู้สอนอธิบายถึงความหมายของคำนาม ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ จากนั้นผู้สอนยกตัวอย่างคำนาม ได้แก่ ม้า ครู โรงเรียนเป็นต้น
                              








 ส่วนคำอื่นๆ เช่น สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ ฯลฯ ก็สามารถอธิบายในลักษณะเดียวกัน จากนั้นนำเอาคำต่างๆ มาปะปนกัน แล้วให้ ผู้เรียนตัดสินหรือบอกให้ได้ว่าคำแต่ละคำเป็นคำชนิดใด โดยใช้กฎเกณฑ์ที่เรียนไปนั้นเป็นสิ่งที่ชี้วัดหรืออธิบายเหตุผล



                 2. แบบอุปนัย (Inductive System) หมายถึง การอธิบายโดยการยกตัวอย่างหรือให้รายละเอียดต่างๆ ที่เหมาะสมกับความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สังเกตและพิจารณาจากตัวอย่าง แล้วสรุปเป็นกฎเกณฑ์หรือหลักการขึ้นมาภายหลัง เช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ โดยนำวัสดุที่ทำจากสิ่งต่างๆ เช่น ไม้ สังกะสี ทองแดง และอื่นๆ มาต้มให้ความร้อนรวมกัน จากนั้นให้ผู้เรียนสรุปว่าวัสดุชนิดใดสามารถนำความร้อนได้ดีที่สุด
ตัวอย่าง
ไม้




ทองแดง

สังกะสี
นำมาต้ม

                                            


  สิ่งไหนจะนำความร้อนมากกว่ากัน








ลักษณะการอธิบายที่ดี
             ลักษณะการอธิบายที่ดี ลัดดาวัลย์ พิชญพจน์ (ม.ป.ป., หน้า 54) ได้กำหนดไว้ดังนี้
             1. ควรใช้ภาษาง่ายๆ กะทัดรัด และได้ใจความ
             2. ควรศึกษาเรื่องราวที่จะอธิบายให้ชัดเจน
             3. ควรยกตัวอย่างประกอบ การนำตัวอย่างมาประกอบในการอธิบายการเปรียบเทียบหรือการอุปมาอุปมัยจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้เร็วยิ่งขึ้น
             4. ควรอธิบายอย่างช้าๆ ในจุดสำคัญที่ต้องเน้น
             5. ควรลำดับขั้นตอนของเนื้อหาที่จะอธิบายให้เหมาะสมไม่วกวน เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดความสับสนในความต่อเนื่องของเนื้อหา
            6. การใช้สื่อการเรียนการสอนจะช่วยประหยัดเวลาและลดขั้นตอนในการอธิบายได้
             7. ขณะที่อธิบายควรสังเกตปฏิกิริยาหรือข้อมูลจากผู้เรียนด้วย
             8. ในการอธิบายควรเปลี่ยนระดับน้ำเสียงบ้าง เพื่อจะได้กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
                                            





วิธีการอธิบายที่ได้ผลดี



             วิธีการอธิบายที่จะช่วยให้การอธิบายได้ผลดียิ่งขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ (เฉลิมศรี ทองแสง, 2538, หน้า 65) ดังต่อไปนี้
    1. กริยา ท่าทางของครู ควรมีกริยาท่าทางคล่องแคล่ว ยิ้มแย้ม เป็นกันเอง น้ำเสียงน่าฟัง สายตาจับที่นักเรียนอย่างทั่วถึง
                                                        
                                        

    2. ใช้อุปกรณ์ประกอบการอธิบาย ครูควรใช้อุปกรณ์มาประกอบการอธิบาย เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจได้ง่าย รวดเร็ว และถูกต้อง อุปกรณ์ที่ใช้มีหลายชนิด อาจเป็นของจริงของจำลอง รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ ฯลฯ
แผนที่
หุ่นจำลองร่างกายมนุษย์




    3. การยกตัวอย่าง ครูควรนำตัวอย่างมาประกอบการอธิบาย เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจถูกต้อง รวดเร็ว และสาระที่อธิบายมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ น่าสนใจ ตัวอย่างที่นำมาประกอบ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
การอธิบายอาจจะเป็น คำพังเพย สุภาษิต โคลง กลอน คำขวัญ คติพจน์ เหตุการณ์เรื่องราวบุคคล สิ่งของ เป็นต้น
สุภาษิต
    4. การเปรียบเทียบ ครูอาจนำสิ่งที่นักเรียนรู้จักดีอยู่แล้วมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ครูอธิบาย เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจรวดเร็วและง่ายขึ้น เช่น เปรียบเทียบผิวโลกของเรามีลักษณะคล้ายผลมะกรูด หัวใจของคนกับเครื่องปั๊มน้ำ เป็นต้น
 




เปลือกโลก

                                                     คล้ายกับ
ผิวของลูกมะกรูด





5. การทำกิจกรรม หลังจากที่ครูอธิบายให้นักเรียนฟังแล้ว บางเรื่องอาจต้องให้นักเรียนได้ฝึก ทดลองทำ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจดียิ่งขึ้น และฝึกการแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การทำแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ ภาษาไทย การฝึกหัดตอนกิ่ง ติดตา เป็นต้น
แบบฝึกหัด



                                              



ขั้นตอนการฝึกทักษะการอธิบายและยกตัวอย่าง



             การอธิบายและยกตัวอย่าง ลัดดาวัลย์ พิชญพจน์ (ม.ป.ป., หน้า 55) และเฉลิมศรี ทองแสง (2538, หน้า 66) ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการฝึกทักษะการอธิบายและยกตัวอย่างไว้ดังนี้
             1.  เลือกหัวข้อที่สามารถให้ตัวอย่างประกอบได้มากๆ
             2.  ขยายข้อความสำคัญโดยการยกตัวอย่างจากง่ายไปหายาก
             3.  ตัวอย่างที่ใช้ควรเหมาะสมกับพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน
             4.  มีการทดสอบความเข้าใจของนักเรียน
                                 
             การอธิบายจะสามารถทำให้ผู้เรียนมีความเข้ารู้ ความเข้าใจมากยิ่ง เมื่อสามารถนำการยกตัวอย่างมาประกอบการอธิบายด้วยเสมอ
ขอขอบคุณ
         โรงเรียนวัดกำมะเชียร ที่เอื้อสถานที่ถ่ายทำ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะครู และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 
บรรยากาศร่มรื่น

น้องๆน่ารักทุกคน

ผอ.สำเนากับครูชุลีพรและนักเรียน พร้อมคณะนักศึกษา

คณะผู้จัดทำ
                                 
วีดีโอชุดนี้จัดทำขึ้นเพื่อเสนอการสอนแบบอธิบาย วิชาทักษะและเทคนิคการสอน สาธิตการสอนวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๕ โรงเรียนวัดกำมะเชียร อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เชิญรับชมได้เลยค่ะ


                               
                                      --หากผิดพลาดประการใดขออภัย ขอบคุณทุกท่านที่คลิกรับชมนะค่ะ---





กรุณาคลิ๊ก "ความคิดเห็น" หากท่านจะแสดงความคิดเห็นนะค่ะ

เพลง ชาติไทย

                                   
                               เพลง สรรเสริญพระบารมี


                              

3 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ดีมาก.....

Unknown กล่าวว่า...

คลิ๊กตรงนี้สามารถแสดงความคิดเห็นต่อได้นะค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

ทำไมไม่มี บรรณานุกรมแบบเต็ม คะ

ผู้ติดตาม